โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 บนพื้นที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ในรูปแบบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคีเครือข่ายทั้งในและนอกพื้นที่ ได้แก่
1. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
2. จังหวัดสุพรรณบุรี
3. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
4. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
5. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
6. กรมราชทัณฑ์
7. เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)
เพื่อ “ยกระดับรายได้และสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกร” ผ่านการดำเนินงานใน 5 มิติ ภายใต้แบรนด์ที่ชื่อว่า “หอมขจร” ดังนี้
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร ประกอบไปด้วยกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
1.1 การพัฒนาต้นแบบแปลงเกษตรอัจฉริยะ
1.2 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตพืช
1.3 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมจัดการเกษตรอัจฉริยะ
1.4 การพัฒนาเครื่องจักรและเครื่องมือทางการเกษตร
การแปรรูปผลผลิตและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า ประกอบไปด้วยกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
2.1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอาง
2.2 การแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเครื่องหมายทางการค้า
2.4 การปกป้องสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาสินค้าเกษตรแปรรูป
การสร้างช่องทางการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ ประกอบไปด้วยกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
3.1 การสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรปลอดภัย
3.2 การรับซื้อผลผลิตและแปรรูปเพิ่มมูลค่าเพื่อจัดจำหน่าย
3.3 การสร้างเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตและการบริการ
3.4 การสร้างระบบและกลไกเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค
การถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต ประกอบไปด้วยกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
4.1 การแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการผลิต
4.2 การเพิ่มขีดความสามารถแก่เกษตรกร (Smart Farmer)
4.3 การผลิตสินค้าตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย
4.4 การแปรรูปและการตลาด
การส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรทางการเกษตรตามอัตลักษณ์พื้นถิ่น ประกอบไปด้วยกิจกรรมในการดำเนินงานจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่
5.1 การส่งเสริมการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน
5.2 การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามเอกลักษณ์พื้นถิ่น
5.3 การสร้างช่องทางการตลาดและการสื่อสารด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
5.4 การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางการเกษตรตามเอกลักษณ์พื้นถิ่น
หอมขจรฟาร์ม ต้องการสร้างความยั่งยืนให้ภาคเกษตรด้วยการสร้างผลตอบแทนที่ดีจากผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ดีมีคุณภาพ สร้างผลลัพธ์ที่ดีทั้งกับผู้ปลูก ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค ทำให้เกิดการแบ่งปัน และเชื่อมโยงระบบธุรกิจภาคการเกษตรที่ยั่งยืน ตามแนวคิด “Do well and do good : ผลสำเร็จที่ดี เกิดจากการทำในสิ่งที่ดี”
หอมขจรฟาร์ม ตั้งใจที่จะพัฒนาเกษตรปลอดภัยให้เกิดมูลค่าเพิ่มด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยสร้างระบบการเชื่อมโยงให้ผู้บริโภคเข้าถึงที่มาของวัตถุดิบ ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากขึ้น เห็นความใส่ใจและความสำคัญ สร้างเรื่องราวที่มาของวัตถุดิบ สร้างมูลค่าให้สินค้าเกษตรแปรรูป จูงใจให้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวของเรา
เราพัฒนานวัตกรรม การผลิดอก และออกผล (ผลผลิต) ที่นำไปสู่การกำเนิดเมล็ดพันธุ์ทางความคิดที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นรากฐานของเกษตรปลอดภัยให้ยั่งยืน หอมขจรจึงเป็นมากกว่าแบรนด์ที่สร้างคุณภาพสินค้าที่ดี แต่เป็นเรื่องราวของวัตถุดิบเกษตรปลอดภัยที่น่าจดจำ และเชื่อมโยงให้เกิดความใกล้ชิดกับแหล่งผลิต จนเกิดเป็นความเชื่อใจ
แนวคิดที่เกิดขึ้น จึงสื่อสารผ่านทางสัญลักษณ์ดอกไม้ เพราะในระบบนิเวศตามธรรมชาติดอกไม้ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ หรือถ่ายทอดละอองเกสรไปยังดอกไม้อื่น ๆ จนเกิดเป็นผลผลิตและเมล็ดพันธุ์ ซึ่งสอดคล้องกับ พันธกิจของแบรนด์ ในด้านการสร้างเครือข่ายในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านเกษตรปลอดภัย และเลือก “ดอกขจร” ในการสื่อสารเพราะนอกจากจะเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสวนดุสิตแล้ว ดอกขจรยังมีลักษณะตามธรรมชาติเป็นพืชพื้นเมืองที่เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ มีลักษณะ 5 กลีบ ซึ่งสามารถสื่อสารผ่านลักษณะแบรนด์และรูปแบบการดำเนินกิจกรรมใน 5 มิติ
HOMKHAJORN “หอมขจร” จึงมีนัยที่จะสื่อสารถึงความหอมที่เผยแพร่แนวคิดและรูปแบบการดำเนินกิจกรรม 5 มิติ ที่จะสร้างรากฐานที่ยั่งยืนด้านการเกษตรต่อไป ดังนี้
มิติที่ 1 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งเสริมการผลิตทางการเกษตร
มิติที่ 2 การแปรรูปผลผลิตและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
มิติที่ 3 การสร้างช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัย
มิติที่ 4 การถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีด้านเกษตรปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต
มิติที่ 5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรทางการเกษตรโครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หรือ หอมขจร เริ่มต้นจากการดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นพื้นที่ให้บริการของมหาวิทยาลัย สวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ในปีงบประมาณ 2560 และ 2561 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ระยะต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่มีความเข้มแข็งระหว่างมหาวิทยาลัยกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ตลอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ ๆ ด้านการผลิตข้าวปลอดภัยแบบครบวงจรที่มีคุณค่า สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง และยกระดับรายได้ตลอดจนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชุนได้อย่างแท้จริงจากผลสำเร็จของการดำเนินงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยสวนดุสิตในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อมุ่งพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย จึงได้ริเริ่มการดำเนินงานโครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หรือ หอมขจร โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากงานวิจัยด้านอาหารและสาขาที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ระยะต้นน้ำไปจนถึงระยะปลายน้ำ ได้แก่ การปลูก การแปรรูป การตลาดและการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรีไปสู่การเป็นเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะตามแนวทางการปฏิบัติของระบบเกษตรดีที่เหมาะสมหรือเกษตรปลอดภัย (Good Agricultural Practices: GAP) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้แก่เกษตรกรและชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป